ประวัติจังหวัดพังงา

       ตราประจำจังหวัดพังงา เป็นรูปภูเขาช้าง คือเป็นภูเขาลูกยาวสูงใหญ่ มีรูปลักษณะคล้ายกับช้างกำลังนอนหมอบอยู่ หันหัวไปทางอ่าวพังงา และอยู่ด้านหลังขอศาลากลางจังหวัด มีความหมายว่าเมืองพังงาเป็นเมืองแห่งภูผาโดยแท้ และรูปเรือขุดมีความหมายว่าจังหวัดพังงามีแร่ดีบุกอุดมสมบูรณ์มากยิ่งกว่าเมืองใด ๆ เรือขุดเป็นเอกลักษณ์ของการขุดหาแร่ที่โดดเด่นทันสมัย และการขุดหาแร่ถือเป็นอาชีพและรายได้หลักของชาวเมืองในอดีต
ดอกไม้ประจำจังหวัด คือ ดอกจำปูน ชื่อวิทยาศาสตร์ ANAXAGOREA JAVANICA BL ขยายพันธุ์ จำปูนเป็นพันธุ์ไม้ที่พบทั่วไปในป่าดงดิบชื้น โดยเฉพาะข้างลำธาร พืชชนิดนี้พบเฉพาะในท้องที่ภาคใต้ ตั้งแต่ชุมพรลงไป คนภาคใต้นิยมปลูกไม้ชนิดนี้ไว้ริมบ่อ เพื่อให้สามารถให้น้ำได้เพียงพอกับความต้องการ ลักษณะทางวนวิทยาเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง 28 เมตร ใบสีเขียวเข้า ดอกมี 3 กลีบ กลีบดอกแข็ง ดอกสีเขียวแต่ด้านในจะมีสีขาว มีกลิ่นหอม เป็นลักษณะเด่นของไม้ชนิดนี้ ยอดอ่อนกินได้
     ต้นไม้ประจำจังหวัด คือ        ต้นเทพทาโร ชื่อวิทยาศาสตร์ CINNAMONUM PORRECTUM KOSTE ชื่ออื่น จะไคหอม จะไคต้น จวงหอม พลูต้นขาว ลักษณะ ไม้ต้นสูง 10- 30 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ กิ่งอ่อนเกลี้ยงและมักจะมีคราบขาว เปลือกสีเทาอมเขียว หรือสีน้ำตาลคล้ำ  แตกเป็นร่องตามยาวลำต้น  ใบเดี่ยวออกเรียงตรงข้ามกัน  แผ่นใบรูปรีแกมรูปไข่ ยาว 7 – 20 เซนติเมตร ดอกสีขาวหรือเหลืองอ่อน ออกเป็นช่อเป็นกระจุกตามปลายกิ่ง ผลกลมเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.7 เซนติเมตร  สีเขียว ขึ้นในป่าดงดิบบนเขา ทั่วประเทศ พบมากในภาคใต้ขยายพันธุ์โดยเมล็ด ประโยชน์ เนื้อไม้มีกลิ่นหอมฉุน  ใช้ในการแกะสลักบางอย่าง  ทำเตียงนอน  ทำตู้  หีบใส่เสื้อผ้า กันมอด และแมลงอื่น ๆ และใช้เป็นยาสมุนไพรเปลือกเป็นยาบำรุงร่างกายอย่างดี โดยเฉพาะหญิงสาวรุ่น ต้มกินแก้เสียดท้อง ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ